messager
check_circle สภาพทั่วไป
ประวัติตำบล
ในอดีตหมู่บ้านวังขอนขว้างเดิมขึ้นกับตำบลถลุงเหล็ก กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกตำบลมาตั้งเป็นตำบลวังขอนขว้างจนถึงปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาตำบลวังขอนขว้าง เดิมมีราษฎรประมาณจำนวน 10 หลังคาเรือน ได้อพยพมาจากดงสะแกเครือ มาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตะวันตกวัดบ้านวังขอนขว้าง (ในปัจจุบัน) ซึ่งตั้งบ้านเรือนใกล้กับขอบสระใหญ่ เนื่องจากหมู่บ้านเดิมเกิดโรคระบาด (อหิวาตกโรค) จึงมีการอพยพมาตั้งบ้านเรือนแห่งใหม่ ในสมัยนั้นการคมนาคมต้องใช้การเดินเท้าเป็นส่วนใหญ่ เวลาเดินผ่านสระใหญ่จะต้องเดิมอ้อมชอบสระใหญ่เพื่อไปตลาดที่อำเภอโคกสำโรง บริเวณสระใหญ่มีคลองน้ำซึ่งไหลเข้าสู่สระใหญ่และมีขอนไม้ใหญ่ล้มขวางคลอง ซึ่งประชาชนใช้เป็นสะพานเดินข้ามคลองไปมาหาสู่กันและใช้เป็นเส้นทางติดต่อกับหมู่บ้านอื่น

ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลวังขอนขว้าง ตั้งอยู่เลขที่ 58 หมู่ 4 ตำบลวังขอนขว้าง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากจังหวัดลพบุรี มีระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอโคกสำโรงประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 18,187.5 ไร่ หรือ 29.10 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.โคกสำโรง และ ต.ถลุงเหล็ก ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.หลุมข้าว และ ต.ห้วยโป่ง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.คลองเกตุ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.หลุมข้าว

อาณาเขตติดต่อ


ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้ ไม่มีภูเขา ไม่มีแหล่งต้นน้ำลำธาร น้ำที่ใช้ในการอุปโภคส่วนใหญ่ได้มาจากบ่อบาดาล สำหรับบริโภคจะได้จากน้ำฝนที่เก็บใส่ภาชนะไว้ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรกรรมปลูกงาและข้าวฟ่าง

อาชีพประชากร
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ข้าวฟ่าง ปลูกงา และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัวเนื้อ สุกร นอกจากช่วงฤดูทำนาทำไร่ จะออกนอกพื้นที่ไปทำงานรับจ้างทั่วไปประมาณ ร้อยละ 80

จำนวนประชากร
จำนวนประชากรทั้งหมด 3,797 คน แยกเป็น - ชาย 1,884 คน คิดเป็นร้อยละ 49.62 - หญิง 1,913 คน คิดเป็นร้อยละ 50.38 จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,500 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 130.48 คน/ตารางกิโลเมตร

เขตการปกครอง


check_circle สภาพสังคม
สภาพสังคม
ตำชาวบ้านตำบลวังขอนขว้าง มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย อยู่กันแบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีศาสนาเป็นศูนย์กลางในการยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน

สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด / สำนักสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง วัดดงแก้ว หมู่ที่ 1 วัดนิมิตมงคล หมู่ที่ 5 วัดบ้านวังขอนขว้าง หมู่ที่ 3 วัดห้วยเจริญสามัคคี หมู่ที่ 4

การศึกษาในตำบล
โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง - โรงเรียนบ้านวังขอนขว้าง หมู่ที่ 3 - โรงเรียนวัดดงแก้ว หมู่ที่ 1 โรงเรียนประถมศึกษาของเอกชน จำนวน 1 แห่ง - โรงเรียนทศธรรมศึกษา หมู่ที่ 2

การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล/หมู่บ้าน หมู่ที่ 6 จำนวน 1 แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

check_circle บริการขั้นพื้นฐาน
การคมนาคม
- การคมนาคมถนนสายหลักเป็นถนนลาดยาง คือ ถนนพหลโยธิน - การคมนาคมภายในชุมชนส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต เสริมเหล็กและถนนลูกรัง

แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำห้วย จำนวน 5 แห่ง - ลำห้วยโคกสิงห์ หมู่ที่ 6 - 4 - ลำห้วยตาเต่า หมู่ที่ 2 - 6 - ลำห้วยวัวตาย หมู่ที่ 3 - 4 - ลำห้วยหิน หมู่ที่ 2 - 1 - 5 คลอง จำนวน 1 แห่ง - คลองสะเดา หมู่ที่ 2 - 6 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝายอาสา จำนวน 2 แห่ง - บ่อโยก จำนวน 15 แห่ง - ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 12 แห่ง - อ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง - บ่อน้ำตื้นสาธารณะ จำนวน 4 แห่ง - บ่อน้ำตื้นเอกชน จำนวน 10 แห่ง - ถนนน้ำล้น จำนวน 1 แห่ง

check_circle สาธารณูปโภค
ไฟฟ้าในตำบล
ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนและไฟฟ้าสาธารณะตามหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

การสื่อสารในตำบล
โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 จุด

ประปาในตำบล
ทุกหมู่บ้านมีน้ำปะปาใช้ครบทุกครัวเรือน

หน่วยธุรกิจในตำบล
ปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก จำนวน 1 แห่ง โรงเรียนเอกชน จำนวน 1 แห่ง

มวลชนจัดตั้ง
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รุ่นที่ 1 จำนวน 44 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รุ่นที่ 2 จำนวน 46 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รุ่นที่ 3 จำนวน 23 คน

image ผลิตภัณฑ์ในตำบล
ตะกร้าเชือกฟาง[20 กุมภาพันธ์ 2566]
เปล[20 กุมภาพันธ์ 2566]
กล้วย มัน เผือก ฉาบ [20 กุมภาพันธ์ 2566]
ไม้กวาดทางมะพร้าว[20 กุมภาพันธ์ 2566]
 
image สถานที่สำคัญ ในตำบล
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.วังของขว้าง (จังหวัดลพบุรี)[20 กุมภาพันธ์ 2566]
อ่างเก็บน้ำห้วยหิน ต.วังขอนขว้าง หมู่ที่ 6 (จังหวัดลพบุรี)[20 กุมภาพันธ์ 2566]
 
check_circle วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์ (Vission)
ตำบลน่าอยู่ ชุมชนมีความเข้มแข็ง เศรษฐกิจดีมีคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

check_circle ยุทธศาตร์
ยุทธศาสตร์ ที่ 1 การพัฒนาด้านตำบลน่าอยู่
แนวทางการพัฒนา - ก่อสร้างปรับปรุง บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน - พัฒนาระบบจราจร - พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตร - พัฒนาเกี่ยวกับสาธารณสุข - พัฒนาและส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและประเพณี วัฒนธรรม - การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด - นันทนาการและการกีฬา - การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - สวัสดิการและสังคมสงเคราะห์ - อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็ง
- ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง

ยุทธศาสตร์ ที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
- พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน - พัฒนาเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ระบบการบริหารจัดการ
- พัฒนาด้านการเมืองการปกครอง - พัฒนาระบบบริหารและการจัดการภายใน